Ticker

6/recent/ticker-posts

การบำรุงรักษาเครื่องจักร อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Condition-Based Maintenance



Condition-Based Maintenance การบำรุงรักษาตามสภาพ คืออะไร


การบำรุงรักษาตามสภาพเป็นเทคนิคการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นทันทีทันใด ซึ่งมีหลากหลายวิธีในการตรวจสอบ ทั้งวิธีดั้งเดิม และการประยุกต์ใช้ระบบ IoT เข้ามาในการตรวจสอบ เช่น การติดตั้งเซนเซอร์เพื่อวัดวิเคราะห์สภาพเครื่องจักร โดยใช้ เซนเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรชนิดไร้สาย พร้อมระบบมอนิเตอร์ริ่งที่ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น เพื่อใช้บ่งบอกถึงความผิดปกติของเครื่องจักรได้ แม้ขณะเดินเครื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักรโดยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

ข้อดีของ Condition-Based Maintenance ลดต้นทุนการซ่อมบำรุง และผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ




เป้าหมายสำคัญของการบำรุงรักษา (Maintenance) ก็เพื่อรักษาสภาพเครื่องจักร ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยการบำรุงรักษายังรวมถึงการตรวจสอบ การฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรและสิ่งสนับสนุนในการผลิตเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในเครื่องจักร และเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตให้สูงขึ้น


ลดอัตราความเสียหาย


เพราะหากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เสียหาย โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติในการควบคุมในกระบวนการผลิต เกิดหยุดหรือเสียหายโดยทันทีทันใด ทำให้ระบบการผลิตต้องหยุดทั้งโรงงาน จะส่งผลไปสู่การสูญเสีย หรือแม้แต่ส่งผลเสียต่อคุณภาพสินค้า ในระหว่างกระบวนการผลิต


ลดเวลาหยุดทำงาน


เพราะหากกระบวนการผลิตต้องหยุดทั้งโรงงานนั้นจะส่งผลเสียต่อโอกาสทางการผลิต เสียโอกาสทางรายได้ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าในการส่งมอบสินค้าจากโรงงานของเราด้วย


ยืดอายุเครื่องจักร


เครื่องจักรถือเป็นทรัพย์สินของโรงงานที่มีมูลค่าสูง รวมถึงเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการผลิต หากสามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรได้นานขึ้น ก็ยิ่งทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนมากขึ้น


ลดต้นทุนการซ่อมบำรุง


เพราะการบำรุงรักษาตามสภาพนั้น ทำให้เรารู้ถึงความผิดปกติของเครื่องจักรได้ตรงจุด อย่างเช่น หากถึงรอบการเปลี่ยนอะไหล่ แต่ข้อมูลในการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า ยังสามารถใช้งานได้ เราก็สามารถใช้งานต่อไปได้ โดยที่ไม่ต้องมีการนำอะไหล่มาเปลี่ยน ลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าวัสดุอะไหล่ ค่าแรงในการบำรุงรักษา รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการเก็บอะไหล่

ชนิดของการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม




เราสามารถจำแนกกิจกรรมตามชนิดของการบำรุงรักษา (Type of Maintenance) ได้ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
  • การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข (Corrective Maintenance)
  • การบำรุงรักษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance)
  • การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-Based Maintenance)





การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข (Corrective Maintenance)


การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข หรือ Corrective Maintenance คือ การบำรุงรักษาแบบแก้ไขหรือบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง หรือเรียกอย่างง่ายก็คือ การซ่อมเมื่อเครื่องจักรเกิดการชำรุดเสียหายแล้วนั่นเอง

ในการบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข เหตุขัดข้องของแต่ละเครื่องจักรนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น หากเป็นเครื่องจักรที่ไม่ได้มีความสำคัญ หรือถึงแม้เสียก็ไม่ส่งผลอะไรต่อกระบวนการผลิต อาจจะเลือกใช้วิธีนี้ได้ หรือก็คือ เรียกได้ว่า ใช้จนพัง แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรที่มีความสำคัญกับกระบวนการผลิต และส่งผลเสียหายร้ายแรง โดยปกติก็จะต้องเตรียมแผนการซ่อมบำรุงอย่างดี เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเกิดเหตุขัดข้อง เช่น เตรียมอะไหล่ เพิ่มพูนทักษะของทีมซ่อมบำรุง เพื่อให้พร้อมที่จะจัดการกับปัญหาอย่างทันทีทันใด

โดยข้อเสียการบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไขนั้น คือเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อไรเครื่องจักรจะเสีย ซึ่งบางครั้งเกิดขึ้น แบบทันทีทันใด จนทำให้นำไปสู่การรีบเร่งในการซ่อมบำรุง จนทำให้ประสิทธิภาพในการซ่อมนั้นไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจใช้เวลาซ่อมเป็นเวลานาน เพราะโดยปกติแล้ว การซ่อมเมื่อเสีย จะเป็นความเสียหายที่รุนแรงแล้วนั่นเอง





การบำรุงรักษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance)


การบำรุงรักษาตามระยะเวลา หรือ Periodic Maintenance คือ การดำเนินการกิจกรรมบำรุงรักษาอยู่เป็นระยะๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยจะทำการตรวจสอบ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามรายการที่กำหนด ซึ่งช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเครื่องจักรเสียหายอย่างฉับพลันได้ หรือช่วยลดปัญหาเครื่องจักรเสียหายระหว่างดำเนินการผลิต

การบำรุงรักษาตามระยะเวลานั้น หลายๆครั้งที่ชิ้นส่วนต่างๆที่ถูกเปลี่ยนไปตามรายการที่กำหนด ยังคงสามารถใช้งานต่อไปได้ แต่เป็นเพราะไม่มีข้อมูลจากเครื่องมือวัดวิเคราะห์ ทำให้ไม่สามารถประเมินได้ว่าจริงๆแล้วชิ้นส่วนนั้นจำเป็นหรือถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้วหรือยัง จึงทำให้เสียโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้






การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-Based Maintenance)


การบำรุงรักษาตามสภาพ หรือ Condition-Based Maintenance คือ ระบบการบำรุงรักษาตามการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่ ถ้าเครื่องจักรเสื่อมสภาพและมีอาการผิดปกติ สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือน เพื่อวิเคราะห์ค่าออกมา และหาว่าอะไหล่ส่วนใดเสื่อมสภาพ หรือมีความผิดปกติอย่างไร ทำให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด

โดยการบำรุงรักษาตามสภาพนั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุนด้านอะไหล่ให้โรงงาน เพราะสามารถใช้เครื่องจักรจนถึงจุดซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอะไหล่ในระยะเวลาที่คุ้มค่าที่สุดนั่นเอง

แต่การบำรุงรักษาตามสภาพต้องมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือวัด หรือติดตั้งระบบเครื่องมือวัด เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้สะดวก รวดเร็ว และตรงจุด โดยวิธีที่แพร่หลายคือใช้เครื่องมือวัดค่าความสั่นสะเทือน อุณหภูมิพื้นผิว ติดตั้งกับอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงงาน รวมถึงระบบที่ช่วยบันทึกค่าการวัดและแสดงผลจากข้อมูลที่วัดได้ ทั้งนี้การแสดงผลก็มีทั้งตรวจสอบข้อมูลอย่างง่าย และการแปรผลเชิงลึกที่อาจจำเป็นต้องมีพนักงานที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าที่วัดได้ เพื่อทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้นนั่นเอง

การติดตั้งเซนเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือน เพื่อบ่งบอกอาการจากการวิเคราะห์ FFT


การบำรุงรักษาตามสภาพนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือวัดต่างๆ เช่น เซนเซอร์วัดการสั่นสะเทือน เพื่อบ่งบอกสภาพความพร้อมของเครื่องจักร ซึ่งทาง IHI ASIA PACIFIC (Thailand) นั้นมีให้บริการระบบมอนิเตอริ่งการสั่นสะเทือนและอุณหภูมิของเครื่องจักร รวมทั้งเซนเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือนแบบไร้สาย และสามารถวัดค่าอุณหภูมิพื้นผิวของเครื่องจักรได้ด้วย ซึ่งเซนเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือนแบบไร้สายนั้น ช่วยให้การติดตั้งใช้งานสะดวกและรวดเร็ว สามารถติดตั้งได้ในหลายๆชิ้นส่วนหรือเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์ไฟฟ้า พัดลมอุตสาหกรรม ปั๊มอุตสาหกรรม แบริ่ง ชุดเกียร์ขับต่างๆ และเครื่องจักรอื่นๆ

ค่าที่วัดได้นั้นสามารถบ่งบอกอาการจากการวิเคราะห์ FFT ว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น จากความไม่สมดุล การติดตั้งไม่ตรงแนวศูนย์ ลูกปืนเสื่อมสภาพ เป็นต้น


เชื่อมต่อระบบแบบไร้สาย ง่ายต่อการติดตั้งใช้งาน




เซนเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือนของทาง IHI ที่นำมาใช้งานนั้นจะเป็นแบบไร้สาย โดยเซนเซอร์จะส่งค่าที่วัดได้มายังตัว Gateway เพื่อส่งข้อมูลไปยัง IoT Station Platform เพื่อเก็บข้อมูลในระบบ Cloud

ระบบ IOT Station Platform จัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ





ระบบ IoT Station Platform ของทาง IHI นั้นช่วยให้การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีระบบและฟังก์ชันการทำงานครบครัน ได้แก่
  • Machine monitoring system
  • Real time as interval setting
  • Alarm level is set
  • Not require Wire Lan system
  • Simple data analysis

แจ้งเตือนทันทีเมื่อเกินเกณฑ์ที่กำหนด






ระบบ IoT Station ของทาง IHI นั้นสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนเมื่อเกินเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งการแจ้งเตือนผ่าน Line Application และ/หรือ E-mail รวมถึงสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้เองโดยการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่ายที่แสดงใน IoT Station หรืออาจจะใช้บริการ Detail Analysis ก็ได้ ในกรณีไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงลึก

สรุปรายงานค่าการวัดวิเคราะห์ มั่นใจได้ว่า วิเคราะห์ถูกต้องและแม่นยำ




ค่าที่วัดได้จากเซนเซอร์ที่ติดตั้งแบบไร้สายกับอุปกรณ์เครื่องจักร IHI นำมาวิเคราะห์ความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร โดยใช้ 3 วิธีได้แก่
  • การใช้กระบวนการทางสถิติของ IHI
  • Fast Fourier Transform
  • ISO 20816 ซึ่งเป็นมาตรฐานในการวิเคราะห์ความรุนแรงด้านการสั่นสะเทือน




IHI ให้บริการครบวงจรด้านการวัดและวิเคราะห์เครื่องจักร

  • จำหน่าย/ให้บริการ เซนเซอร์การวัดค่าความสั่นสะเทือนและอุณหภูมิพื้นผิวของเครื่องจักร
  • IoT Station ให้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลบน Dashboard
  • Analysis Reports ให้บริการสรุปผลการวิเคราะห์สภาพเครื่องจักรจากข้อมูลที่เก็บได้จากระบบ IHI Vibration Monitoring




ระบบ Vibration Monitoring Service ของทาง IHI ช่วยให้

  • แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
  • ลดต้นทุนการซ่อมบำรุง
  • ผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


สนใจติดต่อ


IHI ASIA PACIFIC (Thailand) Co., Ltd.

อาคารรามาแลนด์ ชั้น 11,12 เลขที่ 952 ถนนพระรามสี่ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย

ติดต่อฝ่ายขาย คุณวิญญ์

Tel : 080-063-7235

Email: winn5785@ihi-g.com









—--------------------------------------------------------------
อ้างอิง

อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล (2557). การบำรุงรักษา. กรุงเทพ:สํานักพิมพ์ บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.

อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล (2555). การบริหารงานบำรุงรักษา. กรุงเทพ:สํานักพิมพ์ บริษัท วี.พริ้น (1991) จำกัด.

วินัย เวชวิทยาขลัง (2550). ระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ หจก. นำอักษรการพิมพ์.

แปลโดย ผศ. ดร.สมชัย อัครทิวา (2547). การดำเนินกิจกรรม TPM เพื่อการปฏิรูปการผลิต (ฉบับอุตสาหกรรมกระบวนการผลิต). กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น