Ticker

6/recent/ticker-posts

ระบบมาตรวิทยาของประเทศไทย ในงานสอบเทียบเครื่องมือวัด

ระบบมาตรวิทยาของประเทศไทย ในงานสอบเทียบเครื่องมือวัด




เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดอุณภูมิ เครื่องมือวัดความดัน เครื่องมือวัดระดับ เครื่องมือวัดอัตราการไหล ที่ใช้งานในโรงงานนั้นมีค่าความไม่แน่นอนต่ำอยู่แล้ว เพื่อความน่าเชื่อถือของค่าการวัดที่วัดได้ แต่การที่จะยืนยันว่าเครื่องมือวัดในโรงงานของเรานั้นยังมีความแม่นยำและความเที่ยงตรงอยู่หรือไม่นั้น จำเป็นที่จะต้องสอบเทียบ ซึ่งการสอบเทียบนั้นคือนำเครื่องมือวัดของเราไปวัดเทียบกับเครื่องมือวัดที่มีไม่แน่นอนต่ำกว่า นั้นเองครับ

ในประเทศไทยนั้นมีโครงสร้างของระบบมาตรวิทยาอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้คือ



สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นระดับสูงสุดของระบบมาตรวิทยา (Primary Standard) โดยเครื่องมือวัดที่ถูกจัดเก็บไว้นั้นถือได้ว่าเป็นมาตรฐานแห่งชาติเลยก็ว่าได้ และใช้เป็นมาตรฐานในการอ้างอิงการวัดค่าต่างๆ ที่ต้องการการรับรอง ซึ่งเครื่องมือวัดที่อยู่ในสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาตินั้น จะมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) น้อยที่สุด เพื่อให้เครื่องมือวัดทุกตัวที่อยู่ในระบบการสอบเทียบนั้นจะสามารถตรวจสอบย้อนกลับมาได้ซึ่งเครื่องมือวัดที่อยู่ในสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จะถูกสอบเทียบเป็นประจำด้วยเครื่องมือวัดที่มีความไม่แน่นอนน้อยกว่าจากต่างประเทศ เพื่อให้มีความมั่นใจและความเชื่อมั่นในระบบมาตรวิทยา สำหรับการค้าระหว่างประเทศด้วย

ในระดับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ 

ในระดับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ เป็นระดับรองลงมาหรือทุติยภูมิ (Secondary Standard) จะมีความไม่แน่นอนของเครื่องมือวัดที่ด้อยกว่าของทางสถาบันมาตรวิทยา เพราะเครื่องมือวัดระดับนี้เป็นตัวมาตรฐานอ้างอิง ใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมนั้นเอง โดยเครื่องมือวัดในห้องปฏิบัติการนี้จำเป็นต้องสอบเทียบกับทางสถาบันมาตรวิทยาเป็นประจำเพื่อเป็นการยืนยันว่าค่าที่วัดได้อยู่ในมาตรฐาน

เครื่องมือวัดในระดับของผู้ประกอบการที่ใช้การวัด

เครื่องมือวัดในระดับของผู้ประกอบการที่ใช้การวัด นั้นก็คือเครื่องมือวัดต่างๆที่อยู่ในกระบวนการผลิต หรือที่เราจะเรียกกันว่า เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม โดยเครื่องมือวัดระดับนี้จะมีมาตรฐานการสอบเทียบอยู่ในระดับ มาตรฐานการใช้งาน (Working Standard) โดยเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมของเราจำเป็นที่จะต้องสอบเทียบเป็นประจำกับทางห้องปฏิบัติการสอบเทียบ เพื่อยืนยันค่าการวัดว่ายังอยู่ในมาตรฐานนัั้นเอง


อ้างอิง
รศ.ดร.เกษตร์ ศิริสันติสัมฤทธิ์ (2562). มาตรวิทยา. สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น