Ticker

6/recent/ticker-posts

วิวัฒนาการ ระบบการวัดและควบคุม


อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีระบบการวัดและควบคุมหรือที่เรียกรวมๆว่า ระบบควบคุมอัตโนมัติ มีความซับซ้อนของการทำงาน แต่กลับมีความสะดวกต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น เรามาย้อนกลับไปราว 250 ปีที่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของระบบควบคุมอัตโนมัติกันดีกว่าครับ ว่ากว่าจะมาถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างไรบ้าง

ค.ศ. 1769 เริ่มมีการผลิตสินค้าในลักษณะของอุตสาหกรรม ระบบการวัดและควบคุมยังคงพัฒนาอย่างช้าๆ จะใช้แรงงานคนและระบบกลไกในการผลิตที่ไม่ซับซ้อน

ค.ศ. 1774 โดยการคิดค้นของ James Watts ได้สร้าง Fly ball Governor เพื่อใช้ควบคุมความเร็วรอบของเครื่องจักรไอน้ำ ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมกระบวนการผลิตด้วยหลักการ feedback control
ค.ศ. 1900 ประชากรมีความต้องการใช้สินค้าในปริมาณมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมเองก็เร่งขยายตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เริ่มมีการใช้ระบบลม นิวแมติก มาทำงานร่วมกับกลไกทางแมคคานิกส์ด้วย
คุณต้องเอาม้ามออก, ลวดลาย Pneumaticstencils, ร้อดเจาะ
ค.ศ. 1940 ระบบควบคุมด้วยสัญญาณลมนิวแมติก ถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสัญญาณลมที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ในอุตสาหกรรม คือ สัญญาณ 3–15 psi นั้นเอง
โครเอเชีย, Bakar, อุตสาหกรรม, ท่าเรือ, เครน, ไฟฟ้า
ค.ศ. 1950 เริ่มมีการพัฒนาระบบควบคุมทางไฟฟ้า ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นำมาใช้งานร่วมกับระบบนิวแมติกส์ จนได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่องๆ จึงเริ่มมีการพัฒนาระบบส่งสัญญาณควบคุมทางไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์แบบขึ้น
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ค.ศ. 1970 จึงได้มีการกำหนดสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้ามีใช้ 2 แบบด้วยกันคือ สัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐาน 1–5 Vdc และสัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐาน 4–20 mAdc วงจรอิเล็กทรอนิคส์ก็ถูกพัฒนาจนสามารถรองรับกับฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ได้ นั้นก็คือตัว ลอจิกเกต และระบบควบคุมเริ่มสามารถเชื่อมโยงหลายๆลูปเข้าด้วยกันได้

ค.ศ. 1980 ระบบไฟฟ้าที่ใช้ควบคุม เริ่มมีการพัฒนารูปแบบสัญญาณดิจิตอลขึ้นมา แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ยังคงใช้สัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้าเป็นหลัก

ค.ศ. 1990 สัญญาณดิจิตอลได้ถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถสื่อสารข้อมูลและเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น จนเกิดเป็นระบบควบคุมแบบกระจายส่วน หรือ DCS ที่เรารู้จัก ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างมาก จึงถูกนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมช่วยให้สามารถทำการวัดและควบคุมทางไกลได้ จนไปถึงสามารถมีระบบการบันทึกจัดเก็บข้อมุลการผลิตและทำรายงานสรุปผลให้กับทางผู้ปฏิบัติงาน หรือฝ่ายบริหารได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยง่าย

แต่ปัญหาก็พบว่า รูปแบบสัญญาณดิจิตอลนั้น มีหลากหลายรูปแบบสัญญาณ ตามแต่ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมออกมา ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้หากรูปแบบสัญญาณในการสื่อสารไม่เหมือนกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานของสัญญาณดิจิตอลขึ้น หรือที่เรียกว่า Protocol ที่เราคุ้นเคยและใช้งานในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น HART, MODBUS ,PROFIBUS , FIELDBUS เป็นต้น